หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สาขาวิชา สาธารณสุขศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

  1. รหัสและชื่อหลักสูตร 

รหัสหลักสูตร 25521741103263

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

ชื่อย่อภาษาไทย ส.บ.

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Health Program

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.P.H. 

  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

เป็นปริญญาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์

ชื่อเต็มภาษาไทย สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

ชื่อย่อภาษาไทย ส.บ.

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Health

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.P.H.

  1. วิชาเอก

 ไม่มี 

เป็นปริญญาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์

  1. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต

  1. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

☐ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

☐  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

☐  หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ

🗹 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

🗹 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

☐ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ

☐ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

☐ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

☐ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ

5.2 ภาษาที่ใช้

ภาษาไทยเป็นหลัก

5.3 การรับเข้าศึกษา

รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี 

5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญา สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เพียงสาขาวิชาเดียว 

  1. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

6.1  สถานภาพของหลักสูตร

☐ หลักสูตรใหม่

🗹 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ปรับปรุงจากหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ พ.ศ. 2555

6.2 การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

กำหนดเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สภาวิชาการเห็นชอบหลักสูตรในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 6/2559 วันที่ 2 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2559 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 8/2559 วันที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559

  1. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2562

  1. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ

8.2 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงานในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  1. ชื่อ นามสกุล  เลขประจำตัวประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
ที่ชื่อ-นามสกุลเลขประจำตัวประชาชนตำแหน่งทางวิชาการคุณวุฒิ(สาขาวิชา)สถาบัน และปีพ.ศ.ที่สำเร็จการศึกษา
1.นางวรรณรา  ชื่นวัฒนา3-3199-XXXXX-XX-X

ผู้ช่วยศาสตราจารย์(สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)ศษ.ด.(ประชากรศึกษา)มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545
วท.ม.(การพยาบาลสาธารณสุข)มหาวิทยาลัยมหิดล, 2535
ส.บ.(บริหารสาธารณสุข)
ปกศ.(พยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532วิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา, 2527
2.


นางสาวศศิธร  สกุลกิม3-1016-XXXXX-XX-X

ผู้ช่วยศาสตราจารย์(สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)ศศ.ม.(จิตวิทยาพัฒนาการ)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
พย.บ.(พยาบาลศาสตร์)มหาวิทยาลัยมหิดล, 2524
3.นายณภัทร  เตียววิไล3-7204-XXXXX-XX-Xอาจารย์วท.ม.(สาธารณสุขศาสตร์)วท.บ.(ชีววิทยาประยุกต์)มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2549
4.นายวิทวัส  กมุทศรี1-4307-XXXXX-XX-Xอาจารย์ส.ม.มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
วท.บ.(สาธารณสุขศาสตร์)มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
5.นางสาวจิราพร  ทรงพระ1-3309-XXXXX-XX-Xอาจารย์ส.ม.มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555
วท.บ.(สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552

หมายเหตุ  ประวัติ ผลงานทางวิชาการ และภาระงานสอนดูที่ภาคผนวก ก

  1. สถานที่จัดการเรียนการสอน

ในสถานที่ตั้งสถาบันการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

  1. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
  2. สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ประชากร และระบาดวิทยาเป็นผลจากการเจริญทางเทคโนโลยีและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การสาธารณสุข การเคลื่อนย้ายของแรงงานระหว่างประเทศ ทำให้อาจเกิดผลกระทบต่อระบบการสาธารณสุขของประเทศไทย เช่น การเกิดโรคระบาด โรคระบาดใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ในด้านการศึกษาเพื่อการรองรับการเคลื่อนย้ายประชากรในวัยเรียน ดังนั้น จึงต้องกำหนดหลักสูตรให้ได้มาตรฐานเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร และตลาดแรงงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ร่าง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ของสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 สภาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนและแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการรวมกลุ่มประเทศต่าง ๆ ให้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทางและวิสัยทัศน์ร่วมกัน โดยมีการเชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นเครือข่าย เช่น การเปิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก อาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียนมีอิสระสามารถเดินทางเข้าและออกภายในกลุ่มประเทศได้ง่ายมากขึ้น ก่อให้เกิดการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างเสรี สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องคำนึงทางด้านสาธารณสุข คือ ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการอพยพเข้ามาของแรงงานข้ามชาติที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต โรคระบาดต่าง ๆ รวมถึงโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้น ความเพียงพอต่อทรัพยากรอาหาร รวมถึงความทั่วถึงในการให้บริการทางด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อการผลิตบุคลากรทางด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ จึงนับว่ามีความสำคัญต่อประเทศ

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ร่วมกับมีการรับวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมหลายด้านของคนไทย ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรในสังคมยุคใหม่ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมของไทย เน้นการส่งเสริมดูแลสุขภาพของประชาชนในแต่ละพื้นที่ในเชิงรุก เช่น มีการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระบบสุขภาพร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ (District Health System Management Learning: DHML) หรือในขณะเดียวกันสามารถนำความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสุขภาพของประชาชน

  1. ผลกระทบจากข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
  2. การพัฒนาหลักสูตร

ผลกระทบของสถานการณ์ปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์ และสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ คุณธรรม นำความรอบรู้ทางด้านวิชาการมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรค ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับมาตรฐานเพื่อรองรับการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร

12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

จากพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่เน้น การบริหารจัดการด้านวิชาการอย่างมืออาชีพเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพมีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะทางปัญญา การคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และสามารถใช้ชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม มีความสามารถด้านการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดเวลา ยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การน้อมนำแนวพระราชดำริ การจัดการเรียนการสอนและการวิจัยสู่การพัฒนาความรู้ ทักษะ อาชีพและความเป็นอยู่แก่ชุมชนและท้องถิ่นให้เข้มแข็งมีมาตรฐานชีวิตที่ดีเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพได้มาตรฐานสากลในภูมิภาคอาเซียน ในการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศในด้านการผลิตบัณฑิตสาธารณสุขศาสตร์ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ตรงตามความต้องการของประเทศตลอดจนพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลักสูตรจึงมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อบูรณาการศักยภาพด้านวิชาการสาธารณสุขกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิภาค 

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน

13.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น

หลักสูตรจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและรายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 โดยกำหนดให้เรียนรายวิชาของคณะที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาพื้นฐาน ได้แก่ 

🗹 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาภาษา  (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  และ (4) กลุ่มวิชาพลศึกษา

🗹 หมวดวิชาเฉพาะ  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์  และ (2) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์

🗹 หมวดวิชาเลือกเสรี

  1.  กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน

🗹 หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาพื้นฐานสาธารณสุข กลุ่มวิชาชีพสาธารณสุข กลุ่มวิชาชีพเฉพาะสาขา 

🗹 หมวดวิชาเลือกเสรี

13.3 การบริหารจัดการ

              อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประสานงานกับอาจารย์ในสาขาวิชา และอาจารย์ผู้แทนจากสาขาวิชาอื่นหรือคณะอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรด้านเนื้อหาสาระ ความสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาวิชามีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้บริหาร และอาจารย์ผู้สอน ซึ่งอยู่ต่างสาขาวิชาหรือต่างคณะ เพื่อกำหนดเนื้อหา        และกลยุทธ์การสอนตลอดจนการวัด และประเมินผล ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้บรรลุผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร