หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาอุตสาหกรรมชีวภาพ

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คณะ/ภาควิชา : ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สาขาวิชา : อุตสาหกรรมชีวภาพ

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25541741101162

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมชีวภาพ

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science, Program in Bioindustry

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (อุตสาหกรรมชีวภาพ)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (อุตสาหกรรมชีวภาพ)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Bioindustry)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Bioindustry)

3. วิชาเอก : ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิต : จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

🗹หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

🗹หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ

□หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

□หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ

5.2 ภาษาที่ใช้ 

□ภาษาไทย

□ภาษาต่างประเทศ ระบุภาษา  

🗹ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ

5.3 การรับเข้าศึกษา

□รับเฉพาะนักศึกษาไทย

□รับเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ

🗹รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น 

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

6.1 สถานภาพของหลักสูตร

□หลักสูตรใหม่

🗹หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา พ.ศ. 2560 เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554

6.2 เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป

6.3 สภาวิชาการพิจารณาและเห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 2 (วิสามัญ) / 2564 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564

6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 2 (วิสามัญ) / 2564 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

🗹หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2567

□หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับระบุมคอ.1 ของสาขาวิชา ในปีการศึกษา ระบุปีการศึกษาที่คาดว่าหลักสูตรจะได้รับการรับทราบ 

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 พนักงานปฏิบัติการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในโรงงานอุตสาหกรรมชีวภาพต่าง ๆ 

8.2  เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิชาการเกษตร และสถาบันการศึกษา 

8.3  ผู้ประกอบอาชีพอิสระและผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ เช่น ทำโรงงานผลิตเอทานอล ไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพ น้ำมันชีวภาพ ทำฟาร์มผึ้ง ทำฟาร์มที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ทำฟาร์มการเพาะเห็ด ทำฟาร์มสาหร่ายฯลฯ

8.4  พนักงานขายผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และสารเคมี

9. ชื่อ สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ลำดับที่ชื่อ-สกุล เลขประจำตัวประชาชนตำแหน่งทางวิชาการคุณวุฒิ(สาขาวิชา)สถานศึกษาและปีพ.ศ.ที่สำเร็จการศึกษา
1นายเธียร ธีระวรวงศ์1-1008-xxxxx-xx-xผู้ช่วยศาสตราจารย์ชีววิทยา (0141)วท.ด. (จุลชีววิทยาทางการแพทย์)วท.บ. (ชีววิทยา)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549
2นายวรพันธ์ บุญชัย3-7402-xxxxx-xx-xผู้ช่วยศาสตราจารย์ชีววิทยา (0141)วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ)ป.บัณฑิต (ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู)วท.บ. (ชีววิทยา)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2550
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2536
3นายเกษม คงนิรันดรสุข3-1002-xxxxx-xx-xอาจารย์ปร.ด. (ชีววิทยา)วท.ม. (สัตววิทยา)
วท.บ. (ชีววิทยา)
มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543
4นางสาววนิดา ชื่นชัน3-2009-xxxxx-xx-xอาจารย์ปร.ด. (การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี)วท.ม. (ชีววิทยา)
ป.บัณฑิต (ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู)วท.บ. (ชีววิทยาประยุกต์)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2563
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2550
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2541
5นางสาววรรณกร กิจจะ3-8004-xxxxx-xx-xอาจารย์ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)วท.บ. (เคมี-ชีววิทยา)มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์, 2555มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์, 2550มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์, 2548

หมายเหตุ ประวัติ ผลงานทางวิชาการ และภาระงานสอนของอาจารย์ ดูที่ภาคผนวก ค 

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 

ปัจจุบันจากสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมและอุตสาหกรรมของมนุษย์ รวมทั้งการลดลงของทรัพยากรชีวภาพ ส่งผลให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ซึ่งถูกเสนอจากกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพ โดยมีการกำหนดนโยบายและมาตรการบังคับทางเศรษฐกิจที่ช่วยฟื้นฟูและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชีวภาพ จากนโยบายดังกล่าวส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีการปรับตัวเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดต่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการค้าโลก สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่ทำการเกษตรกรรมเป็นหลักและมีทรัพยากรชีวภาพจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละปีมีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชีวภาพจำนวนมาก เช่น น้ำตาลทราย (ส่งออก 75 ล้านตันต่อปี) มันสำปะหลัง (ส่งออก 25 ล้านตันต่อปี) เชื้อเพลิงชีวภาพ (มีการใช้เอทานอลมากกว่า 2.9 ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซลมากกว่า 2.8 ล้านลิตรต่อวัน) และมีศักยภาพที่จะแข่งขันและเป็นผู้นำตลาดสินค้าทางชีวภาพ แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังขาดศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ทำให้ต้องนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตสินค้าชีวภาพจากต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการเสียดุลทางการค้าและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เพื่อบูรณาการให้เกิดความยั่งยืนและมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประเทศไทยจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านนโยบาย (Policy and Regulation) มีมาตรการเกื้อหนุนและลดอุปสรรคด้านนโยบายและกฎระเบียบ โดยกำหนดนโยบายสนับสนุนการทำ Contract Farming ขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพภาคการเกษตร และเปิดเสรีการผลิต ขนส่ง การค้า และการใช้ประโยชน์เชื้อเพลิงชีวภาพ

2. ด้านการลงทุน (Investment Support) สนับสนุนผู้ลงทุนหน่วยผลิตแกนกลาง ได้แก่ โรงงานหีบและแปรรูปอ้อย โรงงานผลิตเอทานอล ไฟฟ้า/ไอน้ำจากชีวมวล ก๊าซชีวภาพ เคมีชีวภาพ (กรดแลคติก กรดซักซินิก BDO) และพลาสติกชีวภาพ (PLA, PBS) 

3. ด้านเทคโนโลยี (Research Development and Innovation) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ โดยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับแปรรูปมันสำปะหลัง  ผลผลิตเกษตรประเภทเส้นใยเป็นสินค้าชีวภาพ อีกทั้งจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายวิจัยร่วมตั้งแต่ระดับ Lab Scale, Pilot Plant และ Commercial Scale รวมถึงส่งเสริมการวิจัยพัฒนาการบำบัดของเสีย/น้ำเสีย ให้เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตวัตถุดิบ และสนับสนุนการวิจัยพัฒนา/การผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อนำชีวมวลไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ 2G (Cellulosic)

4. ด้านการตลาด (Market Leader) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำตลาดสินค้าชีวภาพ โดยให้หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ เลือกใช้สินค้าชีวภาพที่ผลิตในประเทศ อีกทั้งกำหนดสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ชีวภาพในบรรจุภัณฑ์ รวมถึงกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม โดยให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งต้องผลิตจากพลาสติกชีวภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ใช้ E85 เป็นเชื้อเพลิงหลักในพื้นที่ที่สร้าง Complex และพื้นที่ใกล้เคียง และยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมเอทานอลมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ 

เพื่อให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งชาติและผลักดันประเทศให้ก้าวสู่ผู้นำอุตสาหกรรมชีวภาพอย่างครบวงจรในระดับโลก ทางคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งชาติได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งชาติ ระยะยาว พ.ศ. 2560-2578 โดยกำหนดเป้าหมาย 3 ประการ คือ (1) สร้างอุตสาหกรรมชีวภาพให้เป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร (2) สร้างความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมชีวภาพบนพื้นฐานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมของชาติ ด้วยการมีศูนย์วิจัยจุลินทรีย์เพื่อผลิตเอนไซม์ด้วยเทคโนโลยีของตนเอง และพัฒนาเทคโนโลยี 2G (Cellulosic) เชิงพาณิชย์ และ (3) ปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศด้วยสินค้าจากอุตสาหกรรมชีวภาพเพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศ นอกจากนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ยังกำหนดเป้าหมายและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร พลังงาน การแพทย์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงได้พัฒนาหลักสูตรอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางอุตสาหกรรมชีวภาพ และรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของประเทศไทย.

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

จากการที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีทางสังคมและเศรษฐกิจเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจชีวภาพ เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบาย การลงทุน อาชีพและการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน โดยประเทศไทยได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 ที่เน้นความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร เพื่อให้เป็นตามกรอบการพัฒนาของประเทศและการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพให้ครอบคลุมทั้งด้านนโยบายระยะยาว การส่งเสริมการลงทุน การวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมด้านสินค้าสำเร็จรูปและการพัฒนาด้านตลาดสินค้าชีวภาพ จึงเป็นโอกาสที่จะพัฒนาหลักสูตรอุตสาหกรรมชีวภาพเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งชาติ ความต้องการของตลาดแรงงานและบุคลากรที่เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมชีวภาพ

12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม และยุทธศาสตร์ของชาติในปัจจุบัน ส่งผลให้จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรเชิงรุกให้มีศักยภาพและเหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานที่มุ่งสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ โดยการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถด้านอุตสาหกรรมชีวภาพที่มีศักยภาพสูง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและรองรับตลาดแรงงานทางด้านเศรษฐกิจชีวภาพ รวมถึงมีจิตวิญญาณความเป็นนักวิจัย นักสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ที่ให้นักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม โดยมีมาตรฐานวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมทั้งระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ ดังนั้นจึงพัฒนาหลักสูตรอุตสาหกรรมชีวภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โดยจัดให้นักศึกษาได้เรียนเนื้อหาทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และนักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจ เช่น รายวิชาทางด้านพลังงานชีวภาพ ทางด้านอาหารและการเกษตร และทางด้านสุขภาพและการแพทย์

 12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีพันธกิจที่มุ่งสร้างความเป็นเลิศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันด้านวิชาการ นำไปสู่การจัดทำแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 โดยมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เปิดโอกาสการศึกษาด้วยวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพชั้นสูงให้กับประชาชนทุกระดับ ส่งเสริม สนับสนุนการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่และการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ ส่งเสริมการผลิตบุคลากรทางการศึกษา และส่งเสริมอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ การพัฒนาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นบนพื้นฐานของมหาวิทยาลัยที่นำไปสู่ความเป็นเลิศ สาขาวิชาอุตสาหกรรมชีวภาพจึงได้จัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาสามารถเลือกกลุ่มรายวิชาตามความถนัดและความสนใจเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น บุคลากรทางอุตสาหกรรมชีวภาพ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ นักวิจัย หรือ นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ควบคุมและพัฒนาคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และผู้ประกอบการทางด้านผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)

13.1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น

รายวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ดังต่อไปนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

2) หมวดวิชาเฉพาะ ได้แก่ 

กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์

SC 01001คณิตศาสตร์เบื้องต้น3(3-0-6)
Basic Mathematics
SC 01003ฟิสิกส์เบื้องต้น3(2-2-5)
Basic Physics
SC 01007เคมี 13(3-0-6)
Chemistry 1
SC 01008ปฏิบัติการเคมี 11(0-3-1)
Chemistry Laboratory 1
SC 01010ชีววิทยา 13(3-0-6)
Biology 1
SC 01011ปฏิบัติการชีววิทยา 11(0-3-1)
Biology Laboratory 1
SC 01012เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์3(2-2-5)
Digital Technology for Scientists
SC 01013ภาษาอังกฤษสำหรับนักวิทยาศาสตร์3(3-0-6)
English for Scientists

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

13.2 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น

SC 01010ชีววิทยา 1Biology 1                      3(3-0-6)
SC 01011ปฏิบัติการชีววิทยา 1Biology Laboratory 1                      1(0-3-1)
SC 01009ชีววิทยาเบื้องต้นBasic Biology                      3(2-2-5)

13.3 การบริหารจัดการ

การบริหารจัดการเรียนการสอน มีระบบประสานงานร่วมกันระหว่างหลักสูตรกับภาควิชาและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคณะกรรมการพัฒนา / ปรับปรุงหลักสูตร โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประสานงานกับอาจารย์ในสาขาวิชาและอาจารย์ผู้แทนจากสาขาวิชาอื่น หรือคณะอื่น ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรด้านเนื้อหาสาระ เพื่อความสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาวิชามีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน ซึ่งอยู่ต่างสาขาวิชา หรือต่างคณะ เพื่อกำหนดเนื้อหา และกลยุทธ์การสอนตลอดจนการวัดและประเมินผล ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้บรรลุผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร