หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะ/ภาควิชา : ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชา : สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25511741102867
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Product Chemistry
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมีผลิตภัณฑ์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (เคมีผลิตภัณฑ์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Product Chemistry)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Product Chemistry)
3. วิชาเอก : ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
🗹 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
🗹 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
□ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ
□ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
□ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
□ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ
□ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
□ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
□ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ
5.2 ภาษาที่ใช้
🗹 ภาษาไทย
□ ภาษาต่างประเทศ
□ ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.3 การรับเข้าศึกษา
□ รับเฉพาะนักศึกษาไทย
□ รับเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ
🗹 รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 สถานภาพของหลักสูตร
□ หลักสูตรใหม่
🗹 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี พ.ศ. 2560 เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
6.2 เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป
6.3 สภาวิชาการพิจารณาและเห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 3 / 2564 เมื่อวันที่ 9 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 2 / 2565 เมื่อวันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
□ หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2565
🗹 หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2554 ในปีการศึกษา 2567
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) ผู้ประกอบการทางด้านเคมีผลิตภัณฑ์ เช่น ด้านความงาม อาหาร และสุขภาพ เป็นต้น
2) นักวิชาการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในส่วนราชการและเอกชน
3) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์
4) พนักงานขายเครื่องมือวิทยาศาสตร์ วัสดุและสารเคมี ฯลฯ
5) ประกอบอาชีพอิสระและธุรกิจส่วนตัวทางด้านผลิตภัณฑ์ทางเคมี
9. ชื่อ สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล เลขประจำตัวประชาชน | ตำแหน่งทางวิชาการ | คุณวุฒิ(สาขาวิชา) | สถานศึกษาและปีพ.ศ.ที่สำเร็จการศึกษา |
---|---|---|---|---|
1 | นางสาวอุมาลี นามดวง3-1006- XXXXX-XX-X | ผู้ช่วยศาสตราจารย์เคมีอินทรีย์ (0131) | ปร.ด. (เคมีประยุกต์) วท.ม. (เคมีประยุกต์)ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู วท.บ. (เคมี) | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2560มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2548มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2562มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2544 |
2 | นางสาวจินดา ยืนยงชัยวัฒน์3-1016- XXXXX-XX-X | ผู้ช่วยศาสตราจารย์เคมีวิเคราะห์ (0132) | วท.ด. (เคมีเทคนิค)วท.ม. (ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์)วท.บ. (เคมี) | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
3 | นางสาวหนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์1-5099- XXXXX-XX-X | ผู้ช่วยศาสตราจารย์เคมีอนินทรีย์ (0133) | ปร.ด. (เคมี) วท.ม. (เคมี) วท.บ. (เคมี) | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552 |
4 | นางสาวอาทิตยา สามณฑา3-1005-XXXXX-XX-X | ผู้ช่วยศาสตราจารย์เคมีวิเคราะห์ (0132) | ปร.ด. (เคมีวิเคราะห์) วท.ม. (เคมีวิเคราะห์และเคมีอนินทรีย์ประยุกต์) วท.บ. (เคมี) | มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548 มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544 |
5 | นางสาวสุภาภรณ์ คางคำ3-6604- XXXXX-XX-X | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิศวกรรมเคมี (1101) | วท.ด. (เคมีเทคนิค) Dr. de l’INPT. (Process and Environ mental Engineering) วท.ม. (เคมีเทคนิค) วท.บ. (เคมีวิศวกรรม) | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 INP Toulouse, France, 2555 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
หมายเหตุ ประวัติ ผลงานทางวิชาการ และภาระงานสอนของอาจารย์ ดูที่ภาคผนวก ค
10. สถานที่จัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศไทยภายหลังจากเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในแต่ละภูมิภาคทั้งในและนอกประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเป็นผลจากทิศทางนโยบายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรมให้เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจทั้งในเรื่องกระบวนการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ บนฐานภูมิปัญญาทั้งในระดับพื้นบ้านจนถึงระดับสูงซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง และเร่งการผลิตบุคลากรสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อีกทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการยุคใหม่ ทั้งนี้การดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งในช่วง 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์ชาตินี้มีความสอดคล้องกันในด้านมุ่งเน้นการวิจัย และนำเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้และต่อยอดภาคการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การเน้นการวิจัยและพัฒนา และนำผลงานวิจัยมาใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการพัฒนาคนรุ่นใหม่ เกิดสังคมผู้ประกอบการ การพัฒนาทักษะและความสามารถของแรงงานอีกด้วย เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการเติมเต็มให้ประเทศไทยก้าวไปสู่เป้าหมายของโมเดล ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา มาเพื่อใช้ในการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้านต่าง ๆ ให้สูงยิ่งขึ้น ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ปี พ.ศ. 2563 ตลาดธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและวิตามินในประเทศไทย มีมูลค่า 23,916.80 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า 20,876.30 ล้านบาท และข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่า ปี พ.ศ. 2562 การบริโภควัตถุดิบสมุนไพร-ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย มีมูลค่า 52 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2560 ที่มีมูลค่า 43 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้องค์ความรู้ทางด้านเคมีซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาบุคลากรยุคใหม่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุคใหม่ ที่ดี สามารถนำความรู้ทางศาสตร์เคมีไปประยุกต์และต่อยอดความก้าวหน้าของทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่าง ๆ ของประเทศ
ดังนั้นเพื่อเป็นการผลิตบุคลากรยุคใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ในทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติในช่วง 5 ปีแรก สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงมีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ ปี พ.ศ. 2565 ที่สอดคล้องและทันตามยุคสมัยเพื่อรองรับตลาดแรงงานของภาครัฐบาล และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางเคมีในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเคมี และการเป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยด้านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมทางเคมี
ทั้งนี้สาขาวิชาฯ จึงมีการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมีผลิตภัณฑ์ ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการ นักเรียน/นักศึกษา บุคคลทั่วไป/ศิษย์เก่าและอาจารย์ โดยผลการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการทั้งในภาครัฐและเอกชน มีความคิดเห็นว่า 1) หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์เป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอาชีพ และเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ควรให้ความสนใจ ร้อยละ 62.5 2) หลักสูตรควรเน้นการวิจัยและเน้นการสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ ร้อยละ 75.0 3) หลักสูตรเน้นการสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ ร้อยละ 62.5 นอกจากนี้มีข้อเสนอแนะว่าบัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ ควรมีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีผลิตภัณฑ์ มีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบและคิดอย่างมีวิจารณญาณ และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ สำหรับผลสำรวจกลุ่มนักเรียนและนักศึกษามีความคิดเห็นว่า 1) หลักสูตรนี้มีความน่าสนใจ ร้อยละ 72.1 2) เหตุผลที่เลือกศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ คือ มีความชอบ/สนใจเรียนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ร้อยละ 50.0 3) สามารถนำไปประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวได้ ร้อยละ 44.3 และ 4) สนใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 38.6 ส่วนผลสำรวจความคิดเห็นต่อการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษานี้เป็นดังนี้ 1) สามารถนำไปประกอบอาชีพผู้ประกอบการทางด้านเคมีผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 56.4 2) ที่ปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์ทางเคมี ร้อยละ 45.7 ส่วนผลสำรวจสถานที่ทำงาน/แหล่งรองรับบัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ มีความคิดเห็นว่า 1) สามารถทำโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 73.6 2) กรมหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 56.4 นอกจากนี้ความคิดเห็นต่อข้อจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร คือ อาจารย์คอยชี้แนะประสบการณ์อื่น ๆ ให้นักศึกษา ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นและช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รองลงมาคือ อาจารย์มีความสามารถในการ ความรู้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชา และห้องปฏิบัติการมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความพร้อมสมบูรณ์และเพียงพอต่อการฝึกปฏิบัติการ
ผลสำหรับการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลทั่วไป/ศิษย์เก่า มีความคิดเห็นว่า 1) หากหลักสูตรนี้เปิดสอนจะแนะนำให้บุตรหลานหรือบุคคลที่รู้จักมาเรียน ร้อยละ 44.4 2) หลักสูตรนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ต่อได้ในอนาคต ร้อยละ 55.6 3) หลักสูตรนี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตอันใกล้ ร้อยละ 44.4 สำหรับผลสำรวจด้านการประกอบอาชีพ มีผลสำรวจดังนี้ 1) สามารถนำไปประกอบอาชีพผู้ประกอบการทางด้านเคมีผลิตภัณฑ์ และนักวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละเท่ากันคือ ร้อยละ 77.7 2) ที่ปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์ทางเคมี และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 66.7 ส่วนผลสำรวจสถานที่ทำงาน/แหล่งรองรับบัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ มีความคิดเห็นว่า สามารถทำงานโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานภาคเอกชน และกรมหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดเป็นร้อยละ 88.9 นอกจากนี้ความคิดเห็นว่าบัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ ควรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีควบคู่กับการทำงานได้อย่างเป็นระบบ รองลงมา คือ มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพของตน และมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบและคิดอย่างมีวิจารณญาณ ข้อจำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรคิดเห็นว่า คือ อาจารย์ควรมีคุณวุฒิและประสบการณ์เหมาะสมกับรายวิชาที่สอน และหลักสูตรควรมีความทันสมัยและควรมีความหลากหลายของรายวิชาในหลักสูตร สำหรับผลการสำรวจกลุ่มอาจารย์ คิดเห็นว่ารูปแบบการศึกษาหลักสูตรนี้ ควรเป็น1) การศึกษาที่เน้นการสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ ร้อยละ 80.0 2) การศึกษาที่เน้นการวิจัยและเน้นการสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ ร้อยละ 60.0
ด้วยเหตุนี้การเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมีผลิตภัณฑ์ จึงมีความสำคัญยิ่งในการผลิตบุคลากรยุคใหม่ที่มีองค์ความรู้ทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเคมี และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ อีกทั้งมีจริยธรรม เป็นผู้ใฝ่รู้ มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ เพื่อให้สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมไทยในอนาคตได้เป็นอย่างดี
11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
การพัฒนารากฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความมั่นคง ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลกในข้อ 11.1 โดยความรู้ทางศาสตร์เคมีนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อ การพัฒนาทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมตามมาด้วย อย่างเช่น ปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การบูรณาการศาสตร์ความรู้ทางเคมีในการสร้างหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อาหารและความงาม ถือว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคม เนื่องจากประชาชนให้ความสำคัญในการเลือกอุปโภคบริโภคผลิตภัณฑ์และหันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเองรวมถึงคนรอบข้างมากขึ้น หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2554 จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่ตระหนักและเรียนรู้การบูรณาการศาสตร์ความรู้ทางเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมปฏิบัติงานได้จริงในสังคมและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ปัจจุบันที่ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว ถือว่าเป็นการตอบโจทย์การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมยุคใหม่ได้อีกทางหนึ่ง
12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
12.1 การพัฒนาหลักสูตร
ผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว มีความจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดระบบการศึกษาของหลักสูตรให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2554 ซึ่งสามารถนำบูรณาการศาสตร์ทางเคมีมาวิจัย พัฒนาหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งเชิงพาณิชย์และท้องถิ่น รวมถึงมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และสามารถเป็นกำลังสำคัญขององค์กรทั้งภาครัฐบาลและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงมานานในด้านการผลิตบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับประเทศ และปัจจุบันยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ มีการเน้นผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วย ซึ่งครอบคลุมศาสตร์ความรู้ทางเคมีที่เป็นทั้งศาสตร์หลักและศาสตร์สนับสนุนให้กับหลักสูตรต่างๆ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ อีกทั้งยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งมีความสอดคล้องกับทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ดังนั้นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ จึงเป็นศาสตร์ความรู้หนึ่งที่จะช่วยการขับเคลื่อนพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ ให้การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อไป
13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)
13.1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น
รายวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ดังต่อไปนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น
2) หมวดวิชาเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาฟิสิกส์ (2) กลุ่มวิชาชีววิทยา (3) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (4) กลุ่มวิชาเคมี ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (มคอ.1) สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น
13.2 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น
รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น ได้แก่ กลุ่มวิชาแกนเคมีและรายวิชาพื้นฐานในหลักสูตรซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาอื่นสามารถเลือกเรียนเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือก
13.3 การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการหลักสูตรจะมีระบบประสานงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำสาขาวิชา อาจารย์ผู้สอน และคณะฯ โดยมีการแต่งตั้งกรรมการดำเนินงานพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรที่ประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ประจำสาขาวิชา โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประสานงานกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ประจำสาขาวิชา รวมทั้งอาจารย์ผู้แทนจากสาขาวิชาอื่น และ/หรือคณะอื่น/มหาวิทยาลัยอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรด้านเนื้อหาสาระ ความสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาวิชาต้องมีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้บริหาร และอาจารย์ผู้สอนซึ่งอยู่ต่างสาขาวิชาหรือต่างคณะ เพื่อกำหนดเนื้อหา กลยุทธ์การสอนตลอดจนการวัดและประเมินผล เพื่อให้ได้นักศึกษาที่บรรลุตามผลการเรียนรู้ของหลักสูตร