รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25541741105302
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Communication Arts Program in Film
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : นิเทศศาสตรบัณฑิต (ภาพยนตร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : นศ.บ. (ภาพยนตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Communication Arts (Film)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Com.Arts (Film)
3. วิชาเอก : ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิต :ไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต
5.1 รูปแบบ
þหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
þหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
oหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ
oหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
oหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
oหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ
oหลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
oหลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
oหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ
5.2 ภาษาที่ใช้
o ภาษาไทย
o ภาษาต่างประเทศ ระบุภาษา
þ ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ
5.3 การรับเข้าศึกษา
o รับเฉพาะนักศึกษาไทย
o รับเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ
þ รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 สถานภาพของหลักสูตร
o หลักสูตรใหม่
þ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554
6.2 สภาอนุมัติให้เปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป
6.3 สภาวิชาการพิจารณาและเห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุม ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564
6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
þหลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2567
o หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับระบุมคอ.1 ของสาขาวิชา ในปีการศึกษา ระบุปีการศึกษาที่คาดว่าหลักสูตรจะได้รับการรับทราบ
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1 กลุ่มวิชาการบริหารจัดการธุรกิจภาพยนตร์ และภาพยนตร์ศึกษา (Film Studies and Film Business Management)
8.1.1 ธุรกิจสตาร์ตอัปภาพยนตร์ (Film Start-up Business)
8.1.2 ผู้อำนวยการสร้าง /ผู้อำนวยการผลิต (Executive Producer /Producer)
8.1.3 เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ภาพยนตร์ /หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
8.1.4 ผู้ผลิตเนื้อหาสื่อสตรีมมิง (Streaming Media Content Producer)
8.1.5 เจ้าหน้าที่พิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (องค์การภาครัฐ)
8.1.6 ผู้จัดการกองถ่าย (Production Manager)
8.1.7 ผู้ผลิตวิดีโอ ครีเอเตอร์ /คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ (Video Creator/ Content Creator)
8.1.8 ยูทูปเบอร์วิจารณ์ภาพยนตร์ (Film review Youtuber)
8.2 กลุ่มวิชาการผลิตภาพยนตร์และวิชวลเอฟเฟกต์ (Film Production and Visual Effects)
8.2.1 นักเทคนิคการสร้างภาพพิเศษ (Visual Effects)
8.2.2 นักตัดต่อภาพยนตร์ (Film Editing)
8.2.3 ผู้กำกับภาพยนตร์ (Director)
8.2.4 ผู้กำกับศิลป์ (Art Direction)
8.2.5 ผู้กำกับภาพ (Director of Photography)
8.2.6 ผู้ช่วยผู้กำกับ (Assistant Director)
8.2.7 นักเขียนบทภาพยนตร์ (Screenwriter)
8.2.8 ผู้บันทึกเสียงและผสมเสียง (Recording and Sound Mixing)
8.2.9 ผู้ออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ (Film Production Designers)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันการเข้าถึงสื่อแบบจำเพาะเจาะจงตัวบุคคลเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมบันเทิง ผู้ชมสามารถเลือกชมสิ่งที่ตนเองสนใจได้จากหน้าจอในมือถือผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทสื่อใหม่ที่มีอัลกอริทึมของปัญญาประดิษฐ์ซึ่งเลือกสรรสิ่งที่เราชอบและสนใจมาแนะนำให้ชมอยู่ตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างมั่นคง ส่งผลให้เศรษฐกิจ ในยุคดิจิทัลนั้นเฟื่องฟูอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ความเข้าใจและการเลือกใช้สื่อดิจิทัลแบบสตรีมมิ่งที่เหมาะกับสินค้าและบริการเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น กลายมาเป็นโจทย์สำคัญในการประกอบธุรกิจ
ดังนั้นภาพยนตร์ในฐานะศิลปะและสื่อที่เล่าเรื่องผ่านภาพเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้คนจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ทำให้ภาพยนตร์เป็นกลไกสำคัญหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนประเทศผ่านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ การส่งออกทางวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์ไทยในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ด้วยเหตุผลดังกล่าว ภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องการบุคลากรด้านภาพยนตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเล่าเรื่องผ่านช่องทางการสื่อสารในยุคดิจิทัลผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่แบบทำได้จริง อันจะสามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างฐานมูลค่าเชิงเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้กับประเทศมากยิ่งขึ้น
11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
กอปรกับภาพยนตร์ยังสามารถเป็นสื่อแขนงหนึ่งที่เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันงดงามของไทยให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ เพราะในสภาพความเป็นจริง ภาพยนตร์ไม่ได้ถูกจำกัดให้เป็นเพียงความบันเทิงสำหรับผู้ชมเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้เพื่อการศึกษาเชิงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนในท้องถิ่น ประกอบการเรียนการสอนและการนำเสนอเนื้อหาที่สะท้อนค่านิยมและมุมมองทางสังคมผ่านภาพยนตร์ย่อมส่งผลบวกทางวัฒนธรรมเมื่อต้องเผชิญกับการไหลบ่าเข้ามาของวัฒนธรรมจากภายนอกประเทศได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ การผลิตบัณฑิตออกไปยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาศิลปวัฒธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี อันดีงามของประเทศที่แสดงออกผ่านทางสื่อภาพยนตร์ โดยมุ่งเน้นการสื่อสารไปยังผู้ชมกลุ่มเป้าหมายในฐานะกลไกของการขับเคลื่อนของสื่อภาพยนตร์ที่เน้นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งในบริบทภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน และภาคสื่อมวลชนเป็นสำคัญ
12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
12.1 การพัฒนาหลักสูตร
(1) ตอบสนองความต้องการของประเทศทางด้านกำลังคนและความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์
(2) ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสื่อสารที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
(3) พัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการค้นคว้า วิเคราะห์และผลิตภาพยนตร์เพื่อพัฒนาประเทศ
(4) พัฒนานักศึกษาให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความรู้ มีภูมิปัญญาท้องถิ่น และดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
(1) สอนและส่งเสริมให้นักศึกษาภาพยนตร์ได้มีโอกาสศึกษานอกห้องเรียนและเรียนร่วมต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
(2) มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้นักศึกษานำองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาวงการให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของสังคม
(3) มหาวิทยาลัยมีการระดมสรรพกำลังเชิงวิชาการเพื่อสนับสนุนให้นักศึกษามีความพร้อมในการเรียนภาพยนตร์ในทุกด้าน
(4) มหาวิทยาลัยมุ่งไปสู่หน่วยงานที่เป็นผู้นำเชิงวิชาการและการวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและสนับสนุนให้นักศึกษาภาพยนตร์มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน
(5) มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาในการแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรมระหว่างชุมชน สังคม รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)
13.1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น
รายวิชาต่าง ๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ดังต่อไปนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น
2) หมวดวิชาเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น
13.2 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกนนิเทศศาสตร์ หมวดวิชาเลือกเสรี
13.3 การบริหารจัดการ
สำหรับรายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น ทางสาขาวิชาจะประสานงานผ่านคณะ/ภาควิชาที่เปิดสอน