1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25521741103397

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Creative Digital 

  Marketing

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : บธ.บ. (การตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Business Administration ( )

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Creative Digital Marketing)

3. วิชาเอก : ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

🗹หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

🗹หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ

□หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

□หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ

5.2 ภาษาที่ใช้ 

🗹ภาษาไทย

□ภาษาต่างประเทศ ระบุภาษา  

□ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ระบุภาษา

5.3 การรับเข้าศึกษา

🗹รับเฉพาะนักศึกษาไทย

□รับเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ

□รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น 

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

6.1 สถานภาพของหลักสูตร

□หลักสูตรใหม่

🗹หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552

6.2 เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป

6.3 สภาวิชาการพิจารณาและเห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 12 / 2564 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564

6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 2 / 2565 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

🗹หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2567 หลังเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรไปแล้ว 2 ปีการศึกษา

□หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับระบุมคอ.1 ของสาขาวิชา ในปีการศึกษา ระบุปีการศึกษาที่คาดว่าหลักสูตรจะได้รับการรับทราบ 

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 นักการตลาดดิจิทัล

8.2 พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน

8.3 ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์

9. ชื่อ สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

***************************

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน “การตลาด” เป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อองค์กรต่าง ๆ เป็นอย่างมาก โดยเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สามารถบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการได้ หลังจากปี พ.ศ.2560 เป็นต้นไป แนวโน้มของช่องทางหลักในการเข้าถึงผู้บริโภค คือ Mobile Devices และ Social Media ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเรียลไทม์เป็นหลัก Phillip Kotler ปรมาจารย์ด้านการตลาด ได้อธิบายว่าแนวโน้มการทำการตลาดต่อจากนี้ไปจะเข้าสู่ยุคสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น จากที่ปัจจุบันในหลายประเทศเริ่มปรับตัวทำการตลาดเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ไปสู่ยุคสื่อสังคมออนไลน์หากองค์กรใดยังไม่ปรับตัวก็จะไม่มีความสามารถในการแข่งขันอีกต่อไป รวมไปถึงการติดต่อสื่อสารที่จะมาพลิกโฉมและสร้างหน้าประวัติศาสตร์ของการตลาดยุคใหม่ ทำให้การเชื่อมโยงกันทำได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น รูปแบบการตลาดจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นของผู้บริโภคด้วยกันเป็นอย่างมาก จึงทวีความสำคัญในการตัดสินใจ และปรากฏการณ์นี้ยังทำให้ผู้บริโภคฉลาดและรอบรู้มากกว่าแต่ก่อนด้วย

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็น “ดิจิทัลไทยแลนด์” ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต การขนส่ง การขาย และการบริการ โดย“ดิจิทัลไทยแลนด์” เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยหรือโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยวางเป้าตัวเองว่าในอนาคตประเทศไทยจะเป็น Smart Thailand มุ่งเน้นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน นอกจากนั้น การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทยยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามชุดใหม่ในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ต้องการเร่งการปฏิรูปประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันด้านเศรษฐกิจจะเข้มข้นมากขึ้น สังคมโลกจะมีการเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้นเป็นสภาพไร้พรมแดน การพัฒนาเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคม ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ประเทศไทยต้องปรับตัวขนานใหญ่ โดยจะต้องเร่งพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมให้เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่กับการเร่งยกระดับทักษะ ฝีมือแรงงานกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานและกลุ่มที่อยู่ในตลาดแรงงานในปัจจุบันให้สอดคล้องกับภาคการผลิตและภาคบริการเป้าหมาย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาคนในภาพรวม เพื่อให้เป็นคนที่สมบูรณ์ในทุกช่วงวัยที่สามารถบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิตได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์จากการยกระดับคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้และทักษะซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นสากลว่า ทุกการพัฒนาปัจจัยสำคัญที่สุดคือ “คุณภาพของคน” ไม่ว่าเป้าหมายของการพัฒนาจะเป็นอะไรก็ตาม แต่จุดเริ่มต้นนั้น จะต้องเป็นการเตรียมคนให้เหมาะสมกับการไปสู่เป้าหมายนั้น

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันส่งผลให้ภาคธุรกิจของไทยปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและให้สามารถแข่งขันได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจและการค้าของภูมิภาคอาเซียน ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงต้องให้ความสำคัญกับการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจยุคใหม่ที่อาศัยการผสมผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้สมัยใหม่ๆ ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ มุ่งพัฒนาสังคมไทยให้เกิดความเข้มแข็ง การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมตระหนักความรู้ ความสามารถเชิงเศรษฐกิจวิเคราะห์และมีศักยภาพในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นความต้องการเร่งด่วนในการผลิตบัณฑิตเพื่อตลาดแรงงานและสังคม ถือเป็นหน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษา

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

การพัฒนาหลักสูตรการตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ ได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะรูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ประกอบการสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มผู้บริโภคได้หลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการสื่อสารออนไลน์หรือการสื่อสารแบบออฟไลน์ ประกอบกับผู้บริโภคในปัจจุบันมีนิสัยชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีอยู่เสมอ ดังนั้น หากผู้ประกอบการสามารถผลิตสื่อและเลือกใช้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดที่เหมาะสมและมีความทันสมัย ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การขยายขอบเขตของสังคมสู่การเป็นโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านจิตสำนึกและทัศนคติในทุกมิติของสังคมและวัฒนธรรมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก การเชื่อมโยงด้วยระบบข่าวสาร และการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ จึงเป็นกลไกสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความคิดและบูรณาการกระบวนทัศน์ทางวัฒนธรรมของสังคม ตลาดแรงงานและสังคม จึงมีความมุ่งหวังบุคลากรทางการตลาดและทางธุรกิจที่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติเชิงจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างเหมาะสม

12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

12.1.1 ตอบสนองความต้องการของประเทศทางด้านกำลังคนและความรู้ความเชี่ยวชาญที่ เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์

12.1.2 ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ 

12.1.3 พัฒนาผู้เรียนมีความสามารถในการค้นคว้า ทำวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและสังคม

12.1.4 พัฒนาผู้เรียนมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความรู้ที่เป็นมาตรฐาน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ 

12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.2.1 ส่งเสริมให้นักศึกษาไทยที่สนใจด้านการตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ให้มีโอกาสได้ศึกษามากขึ้น

12.2.2 มหาวิทยาลัยต้องผลิตบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพและมาตรฐานเป็นที่ต้องการของสังคมในประเทศ 

12.2.3 มหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบในการระดมสรรพกำลังเชิงวิชาการเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนมี  ความพร้อมในการเรียนทุกด้าน

12.2.4 มหาวิทยาลัยต้องเป็นหน่วยงานที่เป็นผู้นำเชิงวิชาการและการวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคม โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมหรือชุมชน 

12.2.5 มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาให้มีการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการในระหว่างคณาจารย์และผู้เรียนระหว่างสถาบันเพื่อปรับระดับมาตรฐานการศึกษาและแลกเปลี่ยนแรงงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)

13.1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น

รายวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ดังต่อไปนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

2) หมวดวิชาเฉพาะ ได้แก่ วิชาพื้นฐานวิชาชีพ วิชาเลือก

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

13.2 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น

13.3 การบริหารจัดการ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประกอบด้วย ประธานสาขาวิชาการตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ และอาจารย์ประจำหลักสูตร มีหน้าที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน และบริหารและดำเนินงานด้านวิชาการให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งการประสานงานกับคณะหรือสาขาวิชาอื่นที่ให้บริการสอน และคณะหรือสาขาวิชาอื่นที่รับบริการสอนจากสาขาวิชาการตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ในส่วนของตารางสอน เนื้อหาสาระรายวิชา การวัดและประเมินผล เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศของมหาวิทยาลัย