หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คณะ/ภาควิชา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สาขาวิชา : วิทยาศาสตร์การแพทย์

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25511741102878

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science, Program in Medical Science

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิทยาศาสตร์การแพทย์)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Medical Science)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Medical Science)

3. วิชาเอก : ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

🗹 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

🗹 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

□ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ

□ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

□ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

□ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ

□ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

□ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

□ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ

5.2 ภาษาที่ใช้ 

🗹 ภาษาไทย

□ ภาษาต่างประเทศ   

□ ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ 

5.3 การรับเข้าศึกษา

🗹 รับเฉพาะนักศึกษาไทย

□ รับเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ

□ รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ 

5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น 

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

6.1 สถานภาพของหลักสูตร

□ หลักสูตรใหม่

🗹 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560

6.2 เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป

6.3 สภาวิชาการพิจารณาและเห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมคณะกรรมการวิสามัญสภาวิชาการ ครั้งที่ 2 / 2564 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564

6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ ….. / ….. เมื่อวันที่ ….. สิงหาคม พ.ศ. 2564

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

🗹 หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2567

□ หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับ………….. ในปีการศึกษา ………….. 

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

2) ผู้ช่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์

3) นักพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและการแพทย์

4) ผู้ประกอบการเครื่องมือทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

5) พนักงานขายผลิตภัณฑ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์การแพทย์

9. ชื่อ สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ลำดับที่ชื่อ-สกุล เลขประจำตัวประชาชนตำแหน่งทางวิชาการคุณวุฒิ(สาขาวิชา)สถานศึกษาและปีพ.ศ.ที่สำเร็จการศึกษา
1นางสาวรัชนู เมยดง3-4710-XXXXX-XX-Xอาจารย์ปร.ด. (จุลชีววิทยา)วท.ม. (จุลชีววิทยา)วท.บ. (จุลชีววิทยา)มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2560มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549
2นางสาวรัตน์สุภา ธรรมาภรณ์1-1020-XXXXX-XX-Xอาจารย์ปร.ด. (เคมี)
วท.ม. (เคมี)
วท.บ. (เคมี)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2559มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549
3นางสาวศิริพร ทิพย์สิงห์3-6205-XXXXX-XX-Xผู้ช่วยศาสตราจารย์จุลชีววิทยา (2102)กศ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา-ชีววิทยา)ค.บ. (ชีววิทยา)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2545สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2539
4นายจรัญ ประจันบาล3-2504-XXXXX-XX-Xผู้ช่วยศาสตราจารย์จุลชีววิทยา (2102)วท.ม. (จุลชีววิทยา)
วท.บ. (ชีววิทยาประยุกต์)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2551สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2546
5นายสถิตย์ พันวิไล3-3302-XXXXX-XX-Xอาจารย์วท.ม. (จุลชีววิทยา)วท.บ. (ชีววิทยาประยุกต์)มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2547

หมายเหตุ ประวัติ ผลงานทางวิชาการ และภาระงานสอนของอาจารย์ ดูที่ภาคผนวก ค 

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2580 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ โดยมุ่งเน้นพัฒนาจากรากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย โดยเฉพาะประเด็นด้านอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจร เพื่อรองรับความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ที่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งจากสังคมผู้สูงอายุ การระบาดของเชื้อก่อโรค มลพิษสิ่งแวดล้อม การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรคล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในทุกพื้นที่ รวมถึงต่างประเทศมีความความต้องการทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ ครอบคลุมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ การผลิตอวัยวะเทียม การผลิตเวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ การผลิตเภสัชภัณฑ์ซึ่งรวมถึงชีวเภสัชภัณฑ์ และการให้บริการการแพทย์ที่เกี่ยวข้องและต่อเนื่อง พร้อมทั้งการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทางการแพทย์และบริการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและดูแลสุขภาพและรักษาผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ที่มีเป้าหมายในการเร่งส่งเสริมการลงทุนด้านวิจัยพัฒนาและผลักดันสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม พัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งเร่งผลิตบุคลากรสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ 

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรง ทำให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักกับการดูแลและรักษาสุขภาพ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการจัดทำหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์และการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของประเทศ นั่นคือหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้สนับสนุนงานด้านการแพทย์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ เพื่อออกไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ จึงมีนโยบายมากมายจากภาครัฐเพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีสุขภาพที่ดี แต่เนื่องจากสภาวะของโลกในปัจจุบันที่เผชิญกับการระบาดของเชื้อก่อโรค มลพิษอากาศ รวมถึงการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรค ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีแนวทางในการป้องกันและรักษาโรคอย่างความถูกต้องและเหมาะสม โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์ และแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเข้ามาประกอบ ดังนั้นในหลายปีที่ผ่านมาจึงมีนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของมนุษย์ ทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ดี และง่ายใกล้เคียงคนปกติ รวมถึงเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพสูง นอกจากเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาตลอดเวลาแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอย่างมากคือบุคลากรที่มีความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการพัฒนาทางด้านการแพทย์ จากส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ พ.ศ. 2561-2580 ได้ให้ความสำคัญกับแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการพัฒนาประเทศ ตัวอย่างเช่น การจ้างงานและอาชีพ ความมั่นคงของประเทศอันเกิดจากภัยคุกคามและความเสี่ยง  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและคาดการณ์ได้ยาก  โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ที่ส่งผลให้การเฝ้าระวังด้านการสาธารณสุขในประเทศมีความสำคัญมากขึ้น ทำให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์มีบทบาทสำคัญและนับว่าเป็นบุคลากรที่ขาดแคลน เนื่องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ล้วนมีความต้องการบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการที่มีความรู้ด้านการเก็บรักษาตัวอย่าง การทดสอบ วิเคราะห์ วิจัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การให้บริการ ด้านคลินิก และด้านธุรกิจ เป็นต้น เนื่องจากศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ครอบคลุมเกือบทุกด้านของพื้นฐานวิชาทางการแพทย์ ได้แก่ เคมี ชีวเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา จุลชีววิทยา กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา อณูชีววิทยา ปรสิตวิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน เภสัชวิทยา พิษวิทยา หรือแขนงอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของมนุษย์ ที่มีสอดคล้องตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

โดยสำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องมีความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยบูรณาการศาสตร์ในเนื้อหาต่าง ๆ มาใช้ในการวินิจฉัย ค้นหาสาเหตุ ตรวจสอบชิ้นเนื้อ วิเคราะห์ความรุนแรง ติดตามผลการรักษา การป้องกันและเฝ้าระวังโรค การส่งเสริมสุขภาพ การพิสูจน์หลักฐาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนกำหนดคุณลักษณะและควบคุมมาตรฐานเครื่องมือและห้องปฏิบัติการ การผลิตน้ำยาและชีววัตถุ เป็นต้น 

จากลักษณะงานดังกล่าวจะเห็นว่านักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของทุกคน โดยเป็นการบูรณาการความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะกับหมอและพยาบาลที่ช่วยสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยสำหรับให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังสามารถศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพ ปรับปรุง และพัฒนาวิธีการทดสอบที่เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน เพื่อนำมาซึ่งการรักษาแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

ผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สามารถจัดระบบการศึกษาเพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงาน มีความคิดเชิงพัฒนา และมีความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สนองนโยบายด้านสุขภาพประชากรของประเทศ รองรับการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าบนพื้นฐานของความพอเพียงยั่งยืน

 12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

จากแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2564-2568 ที่กำหนดวิสัยทัศน์หรือแนวทางพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศตามอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เพื่อเป็นสถาบันชั้นนำแห่งการเรียนรู้ในการผลิตการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การดนตรี อุตสาหกรรมบริการ และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล

สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหลักสูตรที่เกิดจากการรวมศาสตร์วิชาด้านเคมี ชีวเคมี เทคโนโลยีวัสดุ เทคโนโลยีดีเอ็นเอ พืชสมุนไพร ชีววิทยา จุลชีววิทยา วิจัยพัฒนา และเป็นหลักสูตรที่มีความจำเป็นต้องเร่งผลิตบุคลากรทางด้านนี้ออกมารับใช้ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)

13.1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น

รายวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ดังต่อไปนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

2) หมวดวิชาเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาเคมี กลุ่มวิชาชีววิทยา และกลุ่มวิชาฟิสิกส์

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

13.2 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น

รายวิชาในหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาอื่น สามารถเลือกเรียนเป็นวิชาบังคับ วิชาเลือก หรือวิชาเลือกเสรี และกลุ่มวิชาโทได้

13.3 การบริหารจัดการ

การบริหารจัดการการเรียนการสอนจะมีระบบประสานงานร่วมกันระหว่างหลักสูตรกับภาควิชาและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร โดยมีกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้บริหาร และอาจารย์ผู้สอน ซึ่งอาจอยู่ต่างสาขาวิชาหรือต่างคณะ เพื่อกำหนดเนื้อหา และกลยุทธ์การสอนตลอดจนการวัดและประเมินผล ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้บรรลุผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร