รายละเอียดของหลักสูตร
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ 
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

  • ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • คณะ/ภาควิชา : คณะวิทยาการจัดการ
  • สาขาวิชา : การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25601744000272
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in International Business Management (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ)
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration (International Business Management)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.B.A. (International Business Management)

วิชาเอก: ไม่มี

จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

  1. รูปแบบของหลักสูตร
    5.1 รูปแบบ
    🗹หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    🗹หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    □หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ
    มคอ.2 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2
    □หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
    □หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
    □หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ
    □หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
    □หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
    □หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    □ภาษาไทย
    🗹ภาษาอังกฤษ
    🗹ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    □รับเฉพาะนักศึกษาไทย
    □รับเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ
    🗹รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
  2. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
    6.1 สถานภาพของหลักสูตร
    □หลักสูตรใหม่
    🗹หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
    ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560
    6.2 เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป
    6.3 สภาวิชาการพิจารณาและเห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้ง
    ที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565
    6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 11 เดือนเมษยน พ.ศ. 2565
    มคอ.2 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 3
  3. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
    🗹หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
    ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2567
  4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    8.1 เจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานต่างประเทศ
    8.2 เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดระหว่างประเทศ
    8.3 เจ้าหน้าที่ส่งออกและนำเข้า
    8.4 ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ
    8.5 นักวิชาการธุรกิจระหว่างประเทศ
  5. ชื่อ สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
  6. สถานที่จัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 

ประเทศไทยยังคงประสบสภาวะแวดล้อมและบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากภายใน และภายนอกประเทศ อาทิ กระแสการเปิดเศรษฐกิจเสรี ความท้าทายของเทคโนโลยีใหม่ๆ การเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ การเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง ประกอบกับสภาวการณ์ด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศในปัจจุบันที่ยังคงประสบปัญหาในหลายด้าน เช่น ปัญหาผลิตภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขัน คุณภาพการศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น  นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก   ทำให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี รวมทั้งการขยายตัวของการเปิดเขตการค้าเสรี ส่งผลต่อรูปแบบของระบบการค้าและระบบเศรษฐกิจของโลก การเปิดเสรีทางการเงินทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ การดำเนินการธุรกรรมทางการเงินมีรูปแบบและเครื่องมือที่หลากหลาย การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆอย่างกว้างขวาง ทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น นานาประเทศยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากภายนอกและภายในประเทศที่มีความผันแปรสูงและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ทั้งที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) โครงสร้างในประเทศที่ยังคงมีข้อจำกัดภายในที่รอการปรับปรุงแก้ไขในหลายมิติ ส่งผลให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดการปรับตัวจากผลกระทบของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) การทำงานผ่านระบบออนไลน์ (Cloud based) มากขึ้น การนำเทคโนโลยีต่างๆมาประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจระหว่างประเทศ การเติบโตของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม (Platform Economy) และเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการยกระดับการจัดสรรทรัพยากรในธุรกิจภาคบริการ อาทิ การคมนาคมและโลจิสติกส์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และที่พักอาศัย รวมถึงการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ประชากรในพื้นที่ห่างไกล และการทำงานในรูปแบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิม ดังนั้น การติดต่อสื่อสาร และการทำธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลใหญ่ (Big Data) และนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ รวมถึงการให้บริการคำปรึกษาและแนะนำธุรกิจในด้านต่างๆและการพัฒนาไปสู่คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ตลาดแรงงาน และผู้ประกอบการธุรกิจระหว่างประเทศต้องมีทักษะที่รองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  

การพัฒนาหลักสูตรจึงพัฒนาให้สอดคล้องกับ การแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 มุ่งเน้นยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวมที่ว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศที่ควรมุ่งไปในอนาคตให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) พัฒนาประเทศ ทั้งในด้านความมั่นคง ความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ  มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมในด้านพัฒนาคน เสริมสร้างศักยภาพ การยกระดับคุณภาพของคนตามวัยที่เหมาะสม สร้างค่าความนิยมที่ดีทางสังคม มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความพร้อมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล ถูกเร่งให้มีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจ สังคม และการดำรงชีวิตของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลถูกนำมาใช้เพื่อลดปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพของคนในสังคม โดยการใช้ช่องทางการสื่อสารแบบออนไลน์ และการประชุมทางไกลแทนการพบปะโดยตรง การซื้อสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แทนการเดินทางไปร้านค้า การเรียนการสอนออนไลน์ และการทำธุรกรรมดิจิทัลแทนการชำระด้วยเงินสด เป็นต้น ทั้งนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้เทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า หลังจากการแพร่ระบาดระลอกแรกของโรคโควิด-19 มีการใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การศึกษาทางไกล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล และการรับชมวิดีโอออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด -19 ทำให้เกิดรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในระยะที่มีการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งผู้คนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติและที่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรเนื่องจากเห็นถึงประโยชน์และโอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงานด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้วยเหตุนี้ จึงนำประเด็นเรื่องรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) มาใช้พิจารณาร่วมกับประเด็นสำคัญอื่นในการวางแผนจัดทำหลักสูตรเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจและประเทศไทย

12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกจึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกที่มีศักยภาพและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการขององค์ความรู้ และรองรับการแข่งขันในระบบการค้าเสรีที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ด้วยการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ และสามารถปฏิบัติงานด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความรอบรู้และรู้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ มีความสามารถในการปรับตัวที่รวดเร็วท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในเชิงธุรกิจได้อย่างสร้างสรรค์ มีศักยภาพในการคิดค้นและต่อยอดการเรียนรู้และประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่องค์กรธุรกิจและประเทศไทย

  12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

การพัฒนาหลักสูตรมีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาดังนี้

พันธกิจที่ 1 พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ให้มีการบูรณาการความเชี่ยวชาญของสาขาวิชาต่างๆให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

พันธกิจที่ 2 พัฒนาองค์ความรู้บนพื้นฐานของการวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมการทำงาน และการผลิตบัณฑิต

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)

13.1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น

รายวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ดังต่อไปนี้

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

2. หมวดวิชาเฉพาะ ได้แก่ วิชาแกน วิชาเลือก

3. หมวดวิชาเลือกเสรี ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

13.2 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น

หมวดวิชาเฉพาะด้าน วิชาแกน หมวดวิชาเลือกเสรี 

13.3 การบริหารจัดการ

1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยประธานหลักสูตร ติดต่อประสานงานกับหลักสูตรอื่นๆ ทางการบริหารธุรกิจ ภายในคณะวิทยาการจัดการ เพื่อการดำเนินการวางแผนด้านการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาแกนทางการบริหารธุรกิจ อันจะทำให้ได้เนื้อหาความรู้และทักษะทางการประกอบการธุรกิจตามความต้องการของหลักสูตร

2. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางวิชาการของมหาวิทยาลัย    

3. สำรวจความต้องการเชิงวิชาชีพจากผู้ประกอบการธุรกิจ ร่วมกับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตร และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประชุมวิพากษ์หลักสูตร

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตรทบทวนความต้องการหรือเงื่อนไข การเรียนรู้และทักษะวิชาชีพจากข้อเสนอแนะของผู้ใช้บัณฑิต ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงรายวิชาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน