ข้อมูลพื้นฐาน

หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติgabssaldi uspoloassnscarpe cainsmooredonna senzamai gigasportoutfitdamen andcamicienegozi 24bottlesclima and-camicie gabssaldi daysrelax blaineharmont daysrelax mandarinaduckoutlet ovyescarpe relaxdaysstoreและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คณะ/ภาควิชา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์

สาขาวิชา : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25511741102946

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

  สิ่งแวดล้อม

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science, Program in Natural Resources and   Environmental Management

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Natural Resources and Environmental 

  Management)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Natural Resources and Environmental Management)

3. วิชาเอก : ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

🗹หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

🗹หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ

□หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ

□หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

□หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ

5.2 ภาษาที่ใช้ 

🗹ภาษาไทย

□ภาษาต่างประเทศ ระบุภาษา  

□ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ระบุภาษา

5.3 การรับเข้าศึกษา

□รับเฉพาะนักศึกษาไทย

□รับเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ

🗹รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น 

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

6.1 สถานภาพของหลักสูตร

□หลักสูตรใหม่

🗹หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2560 เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551

6.2 เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป

6.3 สภาวิชาการพิจารณาและเห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ ระบุครั้งที่ 11  / 2564 เมื่อวันที่ 4  พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1 / 2565 เมื่อวันที่ 20  มกราคม พ.ศ. 2565

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

□หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 

🗹หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559  ในปีการศึกษา 2567 

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และด้านการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม  ในบริษัทที่ปรึกษาทางสิ่งแวดล้อม หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ

2) นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ หรือนักจัดการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือโรงงานอุตสาหกรรม

3) ผู้ควบคุมมลพิษตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์ และสาขาการควบคุมมลพิษ ได้แก่ ผู้ควบคุมมลพิษทางน้ำ ผู้ควบคุมมลพิษทางอากาศ ผู้ควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือน ผู้ควบคุมของเสียอันตราย ผู้ควบคุมขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล หรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ และผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม 

4) วิทยากรบรรยายทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

9. ชื่อ สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ลำดับที่ชื่อ-สกุล เลขประจำตัวประชาชนตำแหน่งทางวิชาการคุณวุฒิ(สาขาวิชา)สถานศึกษาและปีพ.ศ.ที่สำเร็จการศึกษา
1นางสาวมาลี ลิขิตชัยกุล3-1004-002XX-XX-Xผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม(0183)ปร.ด. (การใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน)วท.ม.(วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)วท.บ.(เกษตรศาสตร์)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2559

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2533
2นายสรายุทธ  คาน3-1014-022XX-XX-Xอาจารย์ปร.ด.(การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น)วท.ม.(วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)ศศ.บ.(ภูมิศาสตร์)มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2560
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2534
3นางสาวอรพิมพ์ มงคลเคหา3-1014-007XX-XX-Xผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม(0183)ปร.ด. (การจัดการเทคโนโลยี)วท.ม. (เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร)วท.บ. (ชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี)มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2560มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538
4นางสาวขนิษฐา หทัยสมิทธ์3-1104-011XX-XX-Xผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม(0183)ปร.ด. (การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี)วท.ม.(เคมีอุตสาหกรรม)วท.บ.(จุลชีววิทยา)มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2561
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2547มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2543
5นางชยารัตน์ ศรีสุนนท์3-1015-019XXX-XX-Xผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม(0183)ปร.ด. (เทคโนโลยี)
วท.ม. (วิทยาศาสตร์ทางทะเล)วท.บ. (ประมง)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548

หมายเหตุ ประวัติ ผลงานทางวิชาการ และภาระงานสอนของอาจารย์ ดูที่ภาคผนวก ค 

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 

รูปแบบเดิมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานในการพัฒนานั้น ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบปรากฏหลายด้าน เช่น ปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมเนื่องจากปัญหามลพิษส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ประชาชนมีความเหลื่อมล้ำในรายได้ ทำให้ประเทศยังคงจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง  รัฐบาลจึงเร่งขับเคลื่อนประเทศเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสอดรับกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio – Circular – Green Economy: BCG Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่ใช้จุดแข็งของประเทศที่มีความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและมีศักยภาพเป็นฐานในการผลิต ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าบริการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความเข้มแข็งกระจายรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น BCG Economy Model ประกอบด้วยเศรษฐกิจ 3 ส่วน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นระบบที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากสุดตลอดวัฏจักรชีวิต และนำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้หมุนเวียนมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน ดังนั้น ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

ปัญหาอันเนื่องมาจากการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยที่อาศัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานสำคัญ  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านทางสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต การขยายตัวของเมือง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชากรที่ลดลงอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์ของโลกที่สำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวทางปฏิบัติของประชาคมโลก รองรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทำให้การพัฒนาประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” ยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนให้สมดุลในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติในทุกภาคส่วน โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ดังนั้น การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มิติที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 9 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 6) การจัดการน้ำและสุขาภิบาล 7) พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 8) การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ 9) อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน 11) เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน 12) แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน 13) การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 14) การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล และ 15) การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก 

12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

จากยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

ดังนั้น หลักสูตร “วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” จึงเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นกลไกหนึ่งของการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อสถานการณ์และบริบททางสังคม โดยใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการมลพิษที่แหล่งกำเนิดโดยใช้หลักการป้องกันมลพิษ การควบคุมมลพิษ การบำบัด และการกำจัดมลพิษให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ซึ่งนำไปสู่การดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศในระดับต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันในทุกระดับ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565 นี้ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นเปิดการเรียนการสอน รุ่นที่ 1 ในพ.ศ.2542 จนถึง พ.ศ.2565  มีการจัดการเรียนการสอนรวมเป็นระยะเวลา 24 ปีการศึกษา สามารถผลิตบัณฑิตที่จบการศึกษาแล้วจำนวน 19 รุ่น ในพ.ศ.2542 ใช้ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2548 ใช้ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2551 ใช้ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มี 2 แขนงวิชา ได้แก่ แขนงวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม  และแขนงมลพิษสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ.2555 ใช้ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ.2560 ให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระกับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2559 (มคอ.1)  ใช้ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 5 พ.ศ.2565 ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องตาม มคอ.1 ใช้ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

แนวทางดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565 ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGDs Goals) ร่วมกับนโยบายและแผนในทุกระดับของประเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นแนวทางการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ไขปัญหา  รวมทั้งดำเนินการวิพากษ์หลักสูตรโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลักสูตร ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตจากบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ใช้บัณฑิตจากหน่วยงานราชการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ผู้ทรงคุณวุฒิสายวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของหลักสูตร และศิษย์เก่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพทางด้านสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม โดยหลักสูตรได้นำข้อเสนอแนะจากการวิพากษ์หลักสูตร ความต้องการคุณลักษณะและทักษะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต มาดำเนินการพัฒนาโครงสร้างหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนานักศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ซึ่งหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565 นี้มีโครงสร้างหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ด้านแนวทางการป้องกัน และการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการใช้ความรู้ด้านการบำบัดและกำจัดมลพิษซึ่งยังมีความจำเป็นต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   

 12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันชั้นนำแห่งการเรียนรู้ในการผลิตการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การดนตรี อุตสาหกรรมบริการ วิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล โดยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งปัจจัยนำเข้าที่สำคัญต่อการใช้งานและพัฒนาด้านต่าง ๆ จึงทำให้หลักสูตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีบทบาทและมีส่วนในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการบริการวิชาการ เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนท้องถิ่น

ในหลักสูตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการบูรณการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับการให้บริการวิชาการหรือการวิจัยลงสู่พื้นที่ชุมชน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน  เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งหลักสูตรได้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสาธารณะ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นที่ดำรงตนเองสามารถนำความรู้ทางวิชาการไปประยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเผยแพร่ต่อชุมชน เพื่อเป็นการสร้างเสริมสนับสนุนให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนในท้องถิ่น

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)

13.1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น

รายวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ดังต่อไปนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

2) หมวดวิชาเฉพาะ ได้แก่ วิชาแกนวิทยาศาสตร์

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น

13.2 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น

ไม่มี

13.3 การบริหารจัดการ

การบริหารจัดการการเรียนการสอนจะมีระบบประสานงานร่วมกันระหว่างหลักสูตรกับภาควิชาและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา / ปรับปรุงหลักสูตร โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องประสานงานกับอาจารย์ในสาขาวิชา และอาจารย์ผู้แทนจากในสาขาวิชาอื่นหรือคณะอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรด้านเนื้อหาสาระ ความสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559 (มคอ.1) คณะกรรมการบริหารหลักสูตรต้องมีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะ และอาจารย์ผู้สอน ซึ่งอยู่ต่างสาขาวิชาหรือต่างคณะเพื่อกำหนดเนื้อหา และกลยุทธ์การสอนตลอดจนการวัดและประเมินผล ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้บรรลุผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร

 1,202 total views,  1 views today

Spread the love
replicas relojes fausse rolex montres orologi replica orologi replica imitazione orologi audemars piguet replica rolex replica Replica Rolex relojes