รายละเอียดของหลักสูตร
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
- ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- คณะ/ภาควิชา : คณะวิทยาการจัดการ
- สาขาวิชา : การสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1.รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25521741103454
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Communication Arts Program in Digital Content
Communication
2.ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : นิเทศศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : นศ.บ. (การสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Communication Arts (Digital Content Communication)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Com.Arts (Digital Content Communication)
3.วิชาเอก : ไม่มี
4.จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
🗹 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
🗹 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
□หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ
□ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
□ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
□ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ
□ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
□ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
□ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ
5.2 ภาษาที่ใช้
□ ภาษาไทย
□ ภาษาต่างประเทศ ระบุภาษา
🗹 ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5.3 การรับเข้าศึกษา
□ รับเฉพาะนักศึกษาไทย
□ รับเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ
🗹 รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 สถานภาพของหลักสูตร
□ หลักสูตรใหม่
🗹 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
6.2 เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป
6.3 สภาวิชาการพิจารณาและเห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่
1/2565 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565
6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ ระบุครั้งที่ / ระบุพ.ศ. เมื่อวันที่ ระบุวันที่ ระบุเดือน พ.ศ. ระบุ พ.ศ……………………….
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
🗹 หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2567
□ หลักสูตรจะมีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับระบุมคอ.1 ของสาขาวิชา ในปีการศึกษา ระบุปีการศึกษาที่คาดว่าหลักสูตรจะได้รับการรับทราบ
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1 ธุรกิจส่วนตัวหรืออาชีพอิสระ
8.1.1 ผู้ประกอบการบนเครือข่ายออนไลน์
8.1.2 นักสร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อดิจิทัล
8.2 ตำแหน่งงานด้านการสื่อสาร การตลาด หรือธุรกิจสื่อ
8.2.1 ผู้ดูแลการสื่อสารสื่อสังคมออนไลน์
8.2.2 พิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการ
8.2.3 นักออกแบบสื่อดิจิทัล
8.2.4 นักสื่อสารการตลาด
8.3 ตำแหน่งงานทางราชการ
8.3.1 ประชาสัมพันธ์ สื่อสารองค์การ สื่อสารสาธารณะ ฝ่ายฝึกอบรม
8.3.2 ประสานงานภาครัฐและเอกชน
9. ชื่อ สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
****************************
หมายเหตุ ประวัติ ผลงานทางวิชาการ และภาระงานสอนของอาจารย์ ดูที่ภาคผนวก ค
10. สถานที่จัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Disruption ทำให้หลายธุรกิจมีการปรับตัวอย่างมาก ซึ่ง Digital Disruption ถือเป็นการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับโมเดลธุรกิจแบบใหม่ มีการอาศัยช่องทางการสื่อสารดิจิทัลในการขับเคลื่อนทางธุรกิจเพิ่มเติมจากช่องทางปกติ ส่งผลให้องค์กรเอกชนหลายแห่งให้ความสำคัญกับ การสื่อสารดิจิทัลมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้ทักษะการสื่อสารเนื้อหาผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital Content Communication) จึงมีความจำเป็นต่อองค์การทั้งต่อการสร้างความรู้ พัฒนาบุคลากรภายในองค์การอย่างรวดเร็วและเข้าถึงง่าย และการขับเคลื่อนเป้าหมายทางธุรกิจภายใต้ภาพลักษณ์แบรนด์และองค์การที่ดีในสายตาของสังคมภายนอก นอกจากนี้แล้ว การสื่อสารในภาครัฐที่ปัจจุบันไม่ตอบสนองต่อความต้องการรู้เรื่องต่าง ๆ ของประชาชนเท่าที่ควร การเพิ่มบุคลากรที่มีทักษะด้านการสื่อสารเนื้อหาที่ดีจะช่วยให้การสื่อสารระหว่างภาครัฐกับประชาชนสามารถทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การที่องค์กรระดับอุดมศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถและทักษะการสื่อสารที่ดี มีความรู้ด้านการสื่อสารการตลาดจะสามาถทำให้ผู้เรียนมีอาชีพอิสระที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองระหว่างเรียน มีความสามารถในการหารายได้ดูแลครอบครัว อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาคครัวเรือน ผู้เรียนก็สามารถสร้างธุรกิจของตนเองได้เร็วไม่จำเป็นต้องรอให้สำเร็จการศึกษาแล้วจึงเริ่มต้น โอกาสในการเกิดวิสาหกิจขนาดย่อม (SME) จะมีมากขึ้น ซึ่งภาครัฐหรือสังคมจะได้ประโยชน์จากส่วนนี้ทั้งในทางตรงและทางอ้อม
11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการวางแผนพัฒนาหลักสูตรนั้น สถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่พฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงการรับสื่อ และการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้จนถึงพฤติกรรมการหาข้อมูลเพื่อการซื้อสินค้ารวมถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อดิจิทัล ข้อมูลหรือเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน มีความจำเป็นที่ต้องใช้บุคลากรในการถ่ายทอดเนื้อหาที่เหมาะสม เช่นเดียวกันนั้นการสื่อสารด้านการดำรงรักษาหรือถ่ายทอดวัฒนธรรม สามารถทำได้ผ่านการสร้างสรรค์และสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ
สาระสำคัญของการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมหรือพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม คือ ทักษะและความสามารถในการออกแบบเนื้อหาเพื่อการสื่อสารสู่สังคม การกำหนดประเด็นการสื่อสารที่ดีและมีความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาที่เหมาะสมและอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม จะช่วยให้สังคมและวัฒนธรรมเกิดการพัฒนาได้ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้
12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
12.1 การพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์ มุ่งพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อตอบสนององค์การที่เปลี่ยนผ่านสู่องค์การยุคดิจิทัลในการขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์ จะสามารถนำการสื่อสารเนื้อหาอย่างสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้ทั้งในการสื่อสารองค์การและการสื่อสารการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยการที่สังคมดิจิทัลมีการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว การออกแบบหลักสูตรฯ จึงเปิดช่องให้นักศึกษาสามารถทำงานอาชีพอิสระ (Freelance) ในงานด้านการสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัล หรือเป็นเจ้าของช่องทางการสื่อสารผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มได้ หลังจากศึกษาตามหลักสูตรไปในระยะเวลาหนึ่งแล้ว ช่วยให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่างศึกษา และอาจมีรายได้ระหว่างเรียนไปพร้อมกัน
12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์ ได้พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ให้มีการบูรณาการความเชี่ยวชาญของสาขาวิชาฯ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการที่องค์การ ต่าง ๆ เริ่มการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจ การสื่อสารเพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีทักษะการสื่อสารและการสร้างสรรค์เนื้อหา เพื่อการสื่อสารดิจิทัลบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ
13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)
13.1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาอื่น
รายวิชาต่าง ๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ดังต่อไปนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น
2) หมวดวิชาเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มวิชาแกนนิเทศศาสตร์
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ทุกรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะหรือสาขาวิชาอื่น
13.2 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น
กลุ่มวิชาแกน และรายวิชาในหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาวิชาอื่นสามารถเลือกเรียนเป็นรายวิชาเลือกเสรีได้
13.3 การบริหารจัดการ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน บริหารจัดการด้านวิชาการ ให้เป็นไปตามแผน และหลักสูตรได้มีกลุ่มรายวิชาที่หลักสูตรอื่นสามารถใช้เป็นกลุ่มรายวิชาเลือกเสรีได้ ซึ่งนักศึกษาที่ต้องการลงทะเบียนสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการลงทะเบียนได้โดยปกติ ภายใต้ข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา