สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ภายในประกอบด้วยสาระ 8 หมวด ได้แก่ หมวดที่
1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และ
โครงสร้างของหลักสูตร หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและประเมินผล หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการ
ประเมินผลนักศึกษา หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร และหมวดที่ 8
การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ได้ปรับปรุงปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีการปรับลด
หน่วยกิตลงจากหลักสูตรเดิม รวมถึงการปรับรายวิชา เนื้อหาในรายวิชาให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับ
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2552 พร้อมสอดแทรกเนื้อหาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อันที่จะได้นำไปใช้ในการพัฒนา
ผู้เรียน และใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพต่อไป
ปริญญา
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์
Bachelor of Communication Arts Program in Digital Content Communication
คณะวิทยาการจัดการ
Faculty of Management Sciences
สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์
Digital Content Communication
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ธุรกิจส่วนตัวหรืออาชีพอิสระ
ผู้ประกอบการบนเครือข่ายออนไลน์
นักสร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อดิจิทัล
ตำแหน่งงานด้านการสื่อสาร การตลาด หรือธุรกิจสื่อ
ผู้ดูแลการสื่อสารสื่อสังคมออนไลน์
พิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการ
นักออกแบบสื่อดิจิทัล
นักสื่อสารการตลาด
ตำแหน่งงานทางราชการ
ประชาสัมพันธ์สื่อสารองค์การ สื่อสารสาธารณะ ฝ่ายฝึกอบรม
ประสานงานภาครัฐและเอกชน
แผนการเรียน
คุณสมบัติผู้สมัคร
รายวิชา
ค่าเล่าเรียน