สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ตามแนวทางของคณะทำงานเตรียมการเข้าสู่วิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ร่วมกับสมาคมสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และได้ทบทวนความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน ทั้งนี้สาระในเล่มประกอบด้วย 8 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะหลักสูตร หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมิน หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา หมวดที่ 6 การพัฒนาอาจารย์ หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร และหมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร

ปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Science

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Faculty of Science and Technology

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Occupational Health and Safety

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (จป.วิชาชีพ) ที่สามารถขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ตามกฎหมาย โดยไม่มีการสอบเพิ่มเติม
2) นักวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
3) นักวิชาการแรงงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
4) ผู้ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน
5) นักวิชาการภาครัฐและเอกชน บริษัทที่ปรึกษา องค์กรระหว่างประเทศ
6) วิทยากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
7) ผู้ตรวจประเมินระบบมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ และบุคลากรเฉพาะผู้ควบคุมสารเคมีและวัตถุอันตราย ทั้งนี้ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมหรือสอบผ่านตามมาตรฐานที่หน่วยงานกำหนด

แผนการเรียน

คุณสมบัติผู้สมัคร

รายวิชา

ค่าเล่าเรียน

ข่าวรับสมัคร

ข่าวประชาสัมพันธ์

ภาพกิจกรรม โครงการอบรม