ประวัติสาขาวิชาจุลชีววิทยา
ภาควิชาวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จาก พรบ. สถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สามารถจัดสอนระดับปริญญาได้ จึงเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาชีววิทยาประยุกต์ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายแขนงวิชา แต่แขนงจุลชีววิทยายังไม่ได้เปิดสอนในตอนแรกเนื่องจากยังไม่มีบุคลากรทางด้านจุลชีววิทยาโดยตรง และเมื่อปี พ.ศ. 2539 ผศ.ลาวัลย์ ฟุ้งขจร ได้ย้ายมารับราชการ ณ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงได้มีการเปิดสอนในแขนงวิชาจุลชีววิทยา และในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จึงเปิดสอนหลักสูตร วิทยาศาสตรบันฑิตสาขาวิชาจุลชีววิทยาเป็นครั้งแรก
สาขาวิชาจุลชีววิทยาได้ผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมจำนวนมาก และได้ผลตอบรับที่ดีมาโดยตลอด หลังสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาจุลชีววิทยาในปัจจุบันใช้หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2560 และจะมีการปรับปรุงทุกๆ 5 ปี เพื่อให้ทันสมัยและตรงตามความต้องการของตลาด
ในปัจจุบันสาขาวิชามีอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวน 6 คน และนักวิทยาศาสตร์ประจำสาขาวิชา 1 คน มีนักศึกษารวมโดยประมาณ 60 คน และมีห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง และห้องวิจัยทางจุลชีววิทยาแยกตามศาสตร์ต่างๆจำนวน 5 ห้อง รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยครบครัน
สาขาวิชามีโครงการเพิ่มพูนประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา เช่น การศึกษาดูงานในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งนักศึกษาเรียนร่วมต่างประเทศ โครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ โครงการฝึกประสบการภาคสนาม โครงการเสริมทักษะทางภาษา ด้วยเหตุนี้ทำให้บัณฑิตที่จบจากสาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจิตอาสา สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี และมีงานทำทุกคน
ประวัติสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) เปิดรับนักศึกษารุ่นที่ 1 ภาคเรียนที่ 1/2565 ได้ปรับปรุงหลักสูตรมาจาก หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาจุลชีววิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ผ่านสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อเดือนกันยายน 2564
เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ภายในประกอบด้วยสาระ 8 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษาการดำเนินการและโครงสร้างของหลักสูตร หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้กลยุทธ์การสอนและประเมินผล หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร และหมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ได้ปรับปรุงรายวิชา เนื้อหาในรายวิชาให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 พร้อมเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงาน มีความคิดเชิงพัฒนา และมีความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อออกไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
ประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 7 ท่าน อาจาย์ผู้สอน 16 ท่าน อาจารย์พิเศษจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2 ท่าน และอาจารย์พิเศษจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1 ท่าน และนักวิทยาศาสตร์ประจำสาขาวิชา 1 ท่าน